DIGITAL RADIO / วิทยุระบบดิจิตอล > D-STAR

การทำฮอตสปอร์ตเกตเวย์ D-STAR ด้วยคอมพิวเตอร์

(1/1)

HS5TQA:
การทำฮอตสปอร์ตเกตเวย์ D-STAR ด้วยคอมพิวเตอร์

     การทำฮอตสปอร์ตขึ้นมาใช้งานเองนั้น เราต้องทำสองส่วนด้วยกัน(แต่จะอยู่ในเครื่องเดียว) ส่วนแรกก็คือเกตเวย์เร้าติ้งค์เชื่อมต่อกับเครือข่าย D-STAR ซึ่งจะใช้โปรแกรม ircDDB ส่วนที่สองคือรีพีทเตอร์ ใช้โปรแกรม Repeater ที่จะเชื่อมต่อวิทยุสื่อสารเราแล้วลิ้งเข้ากับเกตเวย์เร้าติ้งที่เราทำขึ้นมาในส่วนแรก ทั้งสองส่วนนั้นจริง ๆ แล้วเป็นระบบที่่แยกกันอยู่แต่เมื่อเราจับมาใช้ในเครื่องเดียวกัน ก็จะลิ้งค์กันได้ง่ายกว่า แต่ให้เข้าใจและมองว่ามันคือ 2ส่วนที่แยกกันอย่างชัดเจนนะครับ
   เริมจากหาอุปกรณ์ในบ้านมาทำ ผมมีคอพพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คเก่าๆ ตัวหนึ่ง มีวิทยุรุ่น FC301(ต้องใช้วิทยุที่มีพอร์ต TNC9600) และมี USB to Serial TTL เพื่อจะดึงขา DTR มากดคีย์ PTT ส่วนสัญญาณเสียงทั้งเข้าและออกนั้นก็ใช้ Sound Card ที่อยู่ในตัวโน๊ตบุ๊คนั่นละครับ ต่อตรงเข้า FC301D เลย ทั้งขาไมค์และลำโพง
   เอาละเรามาเริ่มทำกันเลย โดยผมขออธิบายแยกเป็น 2ส่วน คือเกตเวย์ และรีพีทเตอร์ ตามที่เกริ่นไว้ข้างต้น แต่ก่อนอื่นใดให้ท่านไปดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับทำทั้ง 2ส่วนนี้มาก่อน แล้วทำการติดตั้งโปรแกรมให้เรียบร้อยเสียก่อนนะครับ
ลิงค์ดาวน์โหลดโปรแกรม ircDDB+Repeater :
http://aprs.nakhonthai.net/index.php?ind=downloads&op=entry_view&iden=38



การต่อสาย FC301D กับคอมพิวเตอร์
DB9--->COMPUTER
ขา 1 -> ลำโพงคอมพิวเตอร์
ขา 2 -> ไมค์คอมพิวเตอร์
ขา 3 -> ต่อกับขา DTR ของบอร์ด USB2Serial TTL
ขา 8 -> ต่อกับไฟ VCC 5V ของบอร์ด USB2Serial TTL
ขา 4 -> GND กราวน์ร่วมทั้งหมด
ขา 5 -> +12V แหล่งจ่ายภายนอก >2A



การตั้งค่าโปรแกรมเกตเวย์ ircDDB
1.ในส่วนนี้ยังไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์ใด ๆ เป็นโปรแกรมสำหรับเป็นเกตเวย์(เส้นทางเข้าออกเชื่อมต่อกับระบบดีสตาร์) เท่านั้น สามารถติดตั้งใช้งานได้ทันที
 เมื่อติดตั้งโปรแกรมจะได้เมนูมาดังภาพ ให้เลือก ircDDB Gateway Config (จำไว้เสมอว่าหากจะตั้งค่าต้องปิดโปรแกรม ircDDB Gateway ก่อน และเปิดใหม่ทุกครั้งที่คอนฟิกซ์เสร็จแล้ว)


2.เมื่อเปิดโปรแกรมคอนฟิกซ์มา ในแท็บแรก Gateway ให้ตั้งค่าดังนี้
Type: ให้เลือกเป็น HotSpot
Callsign: ให้ใส่นามเรียกขานของท่าน โปรแกรมนี้ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ตัวย้ายจึงถูกบังคับเป็น G โดยปริยายแก้ไม่ได้
Gateway Address: ยังไม่ต้องใส่
Local Icom Address/Port ให้คงค่าเดิมตาม ICOM
Local HB Address/Port กำหนดไอพีและพอร์ตฮับตัวเชื่อมต่อเป็นโลคอลไว้ 127.0.0.1:20010
Latitude/Longitude ใส่ตำแหน่งพิกัดเกตเวย์ของท่าน หากไม่ทราบก็ไม่ต้องใส่


3.ในแท็บที่สอง Repeater 1 เป็นการกำหนดค่าให้กับ รีพีทเตอร์เชื่อมต่อเข้ามา (ircDDB สามารถลิ้งค์กับรีพีทเตอร์ได้ 4สถานี) ในที่นี้เราทำฮอตสปอร์ตใช้รีพีทเตอร์สถานีเดียว ให้ตั้งค่าดังนี้
Band: ให้เลือก C เมื่อเราใช้ย่าน VHF
Type: เลือก Homebrew
Address: ให้ใส่ไอพีลูปแบ็ค 127.0.0.1 เพราะใช้ภายในเครื่องเดียวกัน เป็นไอพีบริการที่จะให้รีพีทเตอร์เชื่อมต่อเข้ามา
Port: ใช้หมายเลขเดิม 20011
Reflector: เลือกเป็น DCS001 และ U ใช้ในกลุ่มประเทศไทย มันจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายแล้วเข้าไปอยู่ในกลุ่มไทยแลนด์
Startup: Yes เปิดโปรแกรมมาให้มันเชื่อมต่อเลยทันที


4.ในแท็บที่สาม Repeater 1 กำหนดค่ารีพีทเตอร์เพิ่มเติม ให้ใส่ค่าความถี่ พิกัดที่ตั้งสถานีลงไป ตามตัวอย่างดังภาพ


5.ในแท็บต่อไป ircDDB ตรงนี้เราใช้ไม่ได้ และบุคคลลงทะเบียนไม่ได้ ต้องเป็นสมาคมหรือคลับสเตชั่นเท่านั้น จึงกำหนดให้กด Disabled ไปได้เลย


6.D-PRS การตั้งค่าให้เอาพิกัดจากระบบ D-STAR ส่งไปออกในระบบ APRS โดยให้เลือก Enabled แล้ว Hostname ใส่ชื่อ APRS-IS ตามด้วยหมายเลขพอร์ต จากตัวอย่าง aprsth.nakhonthai.net:14580


7.DCS and CCS ให้กด Enabled เอาไว้ครับ จะเป็นส่วนที่เราสามารถใช้ DTMF มาควบคุมและปรับเปลี่ยนการเชื่อมต่อได้เช่นเปลี่ยนห้องคุย โดยไม่ต้องมาคอนฟิกซ์ใหม่ทุกครั้ง


8.เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้ทำการบันทึกไฟล์ ซึ่งก็จะมีหน้าต่างเล็ก ๆ ขึ้นแจ้งเตือนว่าให้ปิดตัวโปรแกรม ircDDB แล้วเปิดใหม่ เมื่อเราเปิดโปรแกรม ircDDB ขึ้นมา ก็จะได้หน้าต่างดังภาพ สังเกตุในกรอบแดง D-PRS: จะขึ้น Active คือการเชื่อมต่อไปยังระบบ APRS สมบูรณ์ และใน Links ตรง Repeater 1: HS5TQA C Linked to DCS001U ก็หมายความว่ามันทำการเชื่อมรีพีทเตอร์ ไปยังเครือข่าย D-Star โดยเชื่อมเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ DCS001 ห้อง U แล้วแล้ว ส่วน Log ด้านล่าง จะเห็นมันส่งแพ็คเก็จตำแหน่งสถานีเกตเวย์และรีพีทเตอร์ออกไปยังระบบ APRS ด้วย มันใช้ชื่อ HS5TQA-S สำหรับเกตเวย์และ HS5TQA-C สำหรับตำแหน่งรีพีทเตอร์


และเมื่อเราเข้าสู่เว็บแสดงการเชื่อมต่อที่เซิร์ฟเวอร์ DCS001 ห้อง U ที่  ก็จะพบว่าเราเชื่อมต่อเข้าไปแล้ว
http://176.10.105.252/dcs_rptstatusU.htm


------------------------------------------------------------------------------------------------------

การตั้งค่าโปรแกรมรีพีทเตอร์ (Sound Card Repeater)
1.ในส่วนนี้เราเลือกใช้ซาวน์การ์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นโมเด็มหรือ TNC เพื่อถอดสัญญาณและเข้าสัญญาณ GFSK 9600 นะครับ และต้องใช้ร่วมกับวิทยุสื่อสารที่มีพอร์ต TNC 9600 ด้วย(เอาเสียงจากลำโพงและเข้าทางไมค์ โดยตรงแบบ APRS ไม่ได้) เมื่อติดตั้งโปรแกรม Repeater แล้วให้เปิดโปรแกรม Repeater ขึ้นมา


2.เมื่อโปรแกรม Sound Card Repeater ถูกเปิดขึ้นมาแล้ว ให้เลือก Edit->Preference... เพื่อตั้งค่าโปรแกรม


3.จะเข้าสู้หน้าต่างการตั้งค่า Sound Card Repeater Preferences โดยกำหนดค่าดังนี้
Callsign: ให้ใส่นามเรียกขานชื่อสถานี(ใส่ชื่อเดียวกับวิทยุรับส่งก็ได้) และตัวต่อท้ายให้เลือกเป็น C เพื่อระบุว่าเราใช้แบน VHF
Gateway: ให้ใส่นามเรียกเดียวกับชื่อ ircDDBGateway ที่ได้ตั้งเอาไว้ ในทีนี้ก็ใช้ชื่อเดียวกัน ตัวท้ายถูกฟิกซ์เป็น G หมายถึง Gateway
Mode: เลือกเป็น Gateway เพื่อระบุว่าใช้งานเป็นตัวเชื่อมต่อไปยังเกตเวย์
Ack: Off หากปรับเป็น BER หลังที่วิทยุกดคีย์พูดเสร็จ มันจะส่งค่า BER ไปให้วิทยุเพื่อบอกมันเพี้ยนแค่ไหน ข้อเสียคือมันช้าเลย Off ไว้ก่อน


4.ในแท็บ Network ให้ใส่ค่าที่ตรงกับโปรแกรม ircDDB ที่เราได้ตั้งเอาไว้ก่อนหน้า ซึ่งมันจะเป็นตัวเชื่อมต่อไปยัง ircDDB นั่นเอง ในเครื่องเดียวกันเราใช้ไอพีลูปแบ้คได้อยู่แล้วคือ 127.0.0.1 ส่วนเลขพอร์ต ให้ใส่ตรงกันดังภาพ


5.ในแท็บ Beacon จะเป็นส่วนประกาศชื่อสถานีรีพีทเตอร์เราออกมา ในภาพตั้งไว้ที่ 10นาที ก็จะพูดชื่อสถานี โฮเทลเซียร่าไฟล์แทงโก้เคียวเบ็คอัลฟ่า ออกมา


6.ในแท็บ Radio เนื่องจากเราใช้ซาวน์การ์ด ก็เลือก Input เป็นเสียงจากไมค์ และ output ออกทางลำโพง คอมพิวเตอร์ ในส่วนตรง Squelch Level ผมปรับมันเป็น 0 และใน Squelch Mode ปรับให้เป็น Open เพราะผมต่อเข้ากับพอร์ต TNC 9600 ของ FC301D มันจะมีเสียงซ่ามาตลอดเวลา


7.ในแท็บ Controller เอาไว้ส่งสัญญาณไปกดคีย์ PTT ซึ่งผมใช้บอร์ด USB To Serial TTL ตัว CP2102 โดยเอาขา DTR มันจั้มไปยังขาที่ 3 ใน DB 9 ของ FC301 ตรงๆ ได้เลย(ลอจิก 5V เหมือนกัน) ปกติมันจะเป็นแอ็คทีฟ 1 เมื่อมันจะส่งก็จะแอ๊ดทีป 0 การตั้งค่าก็จะได้ดังภาพ



8.เสร็จแล้วก็กดปุ่ม OK ด้านล่างหน้าต่าง มันจะบันทึกแล้วขึ้นหน้าต่างเตือนมาว่าให้ปิดโปรแกรม Repeater แล้วเปิดขึ้นมาใหม่
ก็จะเห็นสภาวะการทำงานในส่วน Status ขึ้น Listening แสดงว่ารอรับฟัง การกดคีย์ส่งมาจากวิทยุ ส่วนอื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูลใด ๆ ก็จะขึ้นดังภาพ

HS5TQA:
มาดูกันว่าสถานีรีพีทเตอร์มันจะทำงานอย่างไร ?
นำมาเปรียบเทียบให้ดูกัน ว่าหากเราทำรีพีทเตอร์ในความถี่เดียวกันอยู่ใกล้กันแล้ว รีพีทเตอร์จะทำงานอย่างไร ?

เมื่อตั้งวิทยุใช้รีพีทเตอร์มายัง HS5TQA C เจ้าโปรแกรม Sound Card Repeater ขึ้นสถานะดังภาพ

จะเห็นได้ว่า Status เปลี่ยนไปเป็น สถานะ Process Data(ประมวลผลข้อมูล) และ Rpt State: Valid (ยอมรับ)
ในส่วน Header ก็จะขึ้นตามที่เราได้ตั้งไว้ในวิทยุรับส่ง ให้สังเกตุ Loss/BER: ตรงนี้หากมันขึ้นเกิน 10% เสียงจะเริ่มฟังไม่ได้แล้ว แต่ในทีนี้ขึ้นมา 0.0% ก็สามารถคุยผ่านเกตเวย์ไปยังเครือข่าย D-Star ทั่วโลกได้เลย

เมื่อตั้งวิทยุใช้รีพีทเตอร์ไปยัง HS0AC C เจ้าโปรแกรม Sound Card Repeater ขึ้นสถานะดังภาพ

จะเห็นได้ว่า Status เปลี่ยนไปเป็น สถานะ Process Data(ประมวลผลข้อมูล) และ Rpt State: Invalid (ไม่ยอมรับ)
แปลว่าสถานีรีพีทเตอร์ HS5TQA C ที่เราทำขึ้นจะไม่ทำงานหรือส่งต่อ เพราะวิทยุเราปรับไปใช้สถานีรีพีทเตอร์ HS0AC แล้วซึ่งจะต้องใช้รีพีทเตอร์ของ HS0AC เป็นทางผ่านแทน

Sinsaoki:
สอนวิธีทำได้ละเอียดมาหเลยครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version